Call Our Toll-Free Number: 123-444-5555

งานจัก งานสาน จากไม้ไผ่ เป็นงานฝีมือที่สามารถทำเงินได้อย่างมหาศาล



งานจัก งานสาน จากไม้ไผ่ เป็นงานฝีมือที่สามารถทำเงินได้อย่างมหาศาล งานจักสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งทำให้คนมีอาชีพ มีรายได้เสริม เป็นงานฝีมือที่มีความหลากหลาย รายได้ดี เป็นงานอิสระ เป็นความภูมิใจของคนไทยที่สืบทอดผลงานดีๆ ให้กับลูกหลานได้ชมกัน

015

เงินลงทุน :   ประมาณ 5,000-10,000 บาท
แหล่งจำหน่ายอุปกรณ์ :   จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ ชัยนาท จันทบุรี กาญจนบุรี
อุปกรณ์ :   ไม้ไผ่ มีดขนาดต่างๆ เช่น มีดสำหรับผ่า มีดจักตอก ฯลฯ สว่านแบบมือหมุน เลื่อย ปากคีบ แบบหุ่น
รายได้ :   ประมาณ 8,000-15,000 บาท/เดือน
วิธีดำเนินการ :
1. หาแหล่งที่จะซื้อไม้ไผ่ ที่แปรรูปแล้วและยังไม่แปรรูป
2. ควรได้ศึกษาถึงชนิดการใช้งานของไม้ไผ่ชนิดต่างๆ เนื่องจากไม้ไผ่แต่ละชนิดมีคุณลักษณะแตกต่างกัน เช่น
- ไผ่สีสุก มีเนื้อหนา เหนียวทนทาน จึงเหมาะที่จะนำไปทำเครื่องจักสานประเภทเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือประมง
- ไผ่นวล มีเนื้ออ่อนค่อนข้างเหนียว เหมาะที่จะนำไปทำเครื่องจักสานชนิดที่ต้องการความละเอียด เนื่องจากสามารถจักตอกให้เป็นเส้นเล็กบางได้
- ไผ่รวกดำ ลำต้นแข็งแรงทนทาน ใช้ทำโครงร่ม โครงพัด สานเข่ง
- ไผ่ข้าวหลาม เป็นไผ่เนื้อค่อนข้างบางใช้ทำกระบอกข้าวหลาม เครื่องจักสาน
- ไผ่เฮี๊ยะ เป็นไม้ไผ่ขนาดกลาง ใช้ทำเครื่องจักสาน โครงสร้างอาคาร
3. เตรียมไม้ไผ่เพื่อนำมาจักสาน ควรเป็นไผ่ที่มีอายุ 2-4 ปี ซึ่งเนื้อไม้จะมีความเหนียวกำลังดี ไม่แก่หรืออ่อนเกินไปและต้องเลือกดูไม้ที่ไม่มีแมลง แต่อย่างไรก็ดีควรจะต้มหรือผ่าน กรรมวิธีป้องกันเชื้อราและมอดเสียก่อน (ไม้ไผ่ที่นิยมนำมาใช้ในการจักสาน ได้แก่ ไผ่เลี้ยง ไผ่สีสุก ไผ่เฮี๊ยะ ไผ่ลำมะลอก ไผ่รวก เป็นต้น) จากนั้นจึงนำไปตัด ซึ่งต้องตัดให้มีความยาวตามขนาดผลิตภัณฑ์ที่จะสาน แล้วนำไปริดข้อ ซึ่งต้องระวังอย่าริดให้ลึกจนเกิดรอยแผลที่ผิวไม้ไผ่ และขั้นตอนสุดท้าย คือ ขูดผิวไม้ไผ่ เพื่อการย้อม/ทาสี หลังจากขูดแล้วใช้กระดาษทรายเบอร์ 0 ขัดให้เรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง
4. การย้อมและการทาสีไม้ไผ่เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เครื่องจักสานดูสวยงาม น่าใช้ ซึ่งก่อนที่จะทำการย้อมสี จะต้องเอาน้ำมันออกจากเนื้อไม้เสียก่อน โดยการต้มไม้ไผ่ในน้ำโซดาไฟ หรือโซเดียมคาร์บอเนต ขนาด 0.2% นานประมาณ 3-4 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด และอบให้แห้งสนิท จากนั้นนำไม้ไผ่ลงต้มกับสีที่ ละลายน้ำแล้ว ประมาณ 20-60 นาที อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส ซึ่งขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยาก ดังนั้น จึงนิยมใช้วิธีทาสีด้วยสีน้ำมันแลคเกอร์หรือน้ำมันวานิชแทน
5. ติดต่อหาตลาดจำหน่าย ซึ่งโดยปกติจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน หรือบางครั้งจะรับสั่งทำตามที่ลูกค้าต้องการ หรืออาจจะนำไปขายเองก็ได้
6. ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบ ของ เครื่องจักสานให้ทันสมัย เป็นที่ถูกตาต้องใจของลูกค้าทุกวัย เพราะบางครั้งลูกค้าซึ่งมีความเข้าใจว่าเครื่องจักสานเป็นสินค้าที่เหมาะกับ ผู้สูงอายุเท่านั้น

สถานที่ฝึกอบรม :
1. สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร. 02-245-2655, 245-4741
2. ในส่วนภูมิภาคที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม 11 ศูนย์ ดังนี้ เชียงใหม่ พิษณุโลก พิจิตร อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชลบุรีสุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา
3. อุตสาหกรรมจังหวัด (ส่วนส่งเสริมอุตสาหกรรม) ทุกจังหวัด
ข้อแนะนำ :    การย้อมสีให้ติดดีนั้น ให้ขูดผิวไม้ไผ่อย่างแผ่ว ๆ ด้วยมีดเสียก่อน และถ้าจะให้สีเด่นให้นำไม้ไผ่ลงแช่ในกรดแทนนิคแอซิค ชนิด 4-6 เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หรือแช่ในน้ำยาทา อีเมติค ชนิด 1-2 เป็นเวลา 30 นาที

ขอบคุณคลิปจาก รายการน้ำมือคนไทย
หวังว่าข้อมูลที่เราได้นำเสนอในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านบ้างไม่มากก็น้อย และ หวังว่าจะสามารถเป็นอีกไอเดีย หรือ อีกหนึ่งช่องทางที่สามารถช่วยให้ทุกคนสร้างอาชีพ สร้างรายได้  และ ประกอบธุรกิจส่วนตัว ได้อย่างยั่งยืนและมั่นคงในอนาคต

0 ความคิดเห็น:

About

Link List

Contact Details